คำถามที่พบบ่อย
FAQ
ตลาดคาร์บอน ทั้งหมด 6 รายการ
วิสัยทัศน์ และพันธกิจของแต่ละองค์กรนั้นมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่กำลังทวีความรุนแรง และเป็นกระแสที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม กิจกรรม CSR ประเภทต่างๆที่องค์กรนั้นได้ดำเนินงานอยู่ก็ถือเป็นกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่หากวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรนั้นๆต้องการจะช่วยบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมชดเชยคาร์บอนก็ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
การทำชดเชยคาร์บอนจากผู้เข้าร่วมที่ทำการชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยมิได้ทำกิจกรรมการลดคาร์บอนด้วยตนเองเลย อาจเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้เข้าร่วมโครงการมีการใช้พลังงานอยู่ในระดับที่มีประสิทธิภาพแล้วจึงไม่สามารถลดการใช้พลังงานได้อีก หรือ ต้นทุนของการลดคาร์บอนด้วยตนเองมีสูงกว่าการชดเชยคาร์บอนจากที่อื่น ซึ่งมิอาจปฏิเสธได้ว่าธุรกิจสามารถผลักภาระในการลดก๊าซเรือนกระจกให้ผู้อื่น ซึ่งผลที่ตามมาอาจเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น และเกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้า
อย่างไรก็ตาม หากมองไปยังจุดมุ่งหมายสูงสุดของการบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง จากกิจกรรรมการใช้ชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ การทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนก็ยังอยู่ในหลักการของการลดก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (Cost effectiveness) และยังมีความชอบธรรมตามหลักการ “Polluter pay principle”
สำหรับกิจกรรมการชดเชยคาร์บอนทางอบก.มีโครงการนำร่องสำกรับการทำกิจกรรมตัวอย่างในปีงบประมาณ 2556 ในส่วนของการคำนวนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอบก.ได้กำหนดไว้ 4 แนวทางได้แก่
1) สำหรับบุคคล การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน (หน่วยคำนวณเป็น ตันต่อปี) ให้ใช้ “เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของไทย” บนเว็บไซต์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
2) สำหรับองค์กร การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ใช้ “แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” ทั้งนี้ การคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต้องรวมทุกกิจกรรมทั้งหมดในประเภท (Scope) ที่ 1 และ 2 โดยไม่จำเป็นต้องนำประเภทที่ 3 มาพิจารณา เนื่องจากมีความยุ่งยากในการคำนวน และอาจเกิดปัญหาการนับซ้ำในภายหลังได้
3) สำหรับสินค้าและบริการ การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ใช้ “แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์”
4) สำหรับการจัดงานอีเว้นท์การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ใช้ “แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร” ทั้งนี้ การคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต้องรวมทุกกิจกรรมทั้งหมดในประเภท (Scope) ที่ 1-3 มาพิจารณา
กนอกจากนี้ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกยังมีผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit) ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนในพื้นที่โครงการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น โดยการนํามาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงาน ลดการใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถทดแทนได้ คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศดีขึ้นมีการถ่ายทอดและพัฒนา เทคโนโลยีที่สะอาดทั้งจาก ต่างประเทศและภายในประเทศ ด้านสังคม เช่น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัยจากคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เพิ่มทางเลือกในการประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสภาวะแวดล้อม มีบทบาทในเวทีโลกในการแก้ไข ปัญหาระดับนานาชาติ ทำให้เพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และด้านเศรษฐกิจ เช่น เกษตรกรสามารถนำวัสดุเหลือใช้ ไปขายเพื่อเป็นวัตถุดิบในการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือน กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชนให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิง พลังงาน กระตุ้นเศรษฐกิจระดับชาติและเพิ่ม ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ลดภาระของประเทศที่ภาครัฐจะต้องลงทุนในการรักษา สิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน อีกดัวย
คุณสมบัติ |
กลไกการซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
การทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจก |
ผู้ที่ทำการลดก๊าซเรือนกระจก |
ผู้ที่เข้าร่วมซื้อขายในตลาดคาร์บอน |
ผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก |
สาขาการผลิตที่เข้าร่วม |
เน้นสาขาการผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง และธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ |
สาขาการผลิตใดก็ได้ หรืออาจจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ |
เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก และการอนุญาตให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
เป้าหมายถูกกำหนดโดยรัฐ หรือผู้มีอำนาจ โดยผู้ปล่อยจะได้รับจัดสรรสิทธิในการปล่อยก๊าซฯ ในรูปแบบใบอนุญาต (Allowance) |
ไม่มีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซฯ หรือสิทธิในการปล่อยก๊าซฯ หากลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ต่ำกว่ากรณีการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business-as-usual) จะได้รับ “คาร์บอนเครดิต” |
สิ่งที่ใช้ซื้อขาย |
ใบอนุญาต (Allowance) |
คาร์บอนเครดิต (Carbon credit) |
อุปทานในตลาด |
จำกัดตามปริมาณของเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ขึ้นอยู่กับขนาดโครงการและความสนใจในการเข้าร่วมทำโครงการ |
อุปสงค์ในตลาด |
ผู้ที่ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ ซึ่งสะท้อนจากความเข้มข้นของเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
กลไกการซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่อนุญาตให้ใช้เครดิตชดเชย / บริษัทหรือบุคคลที่ทำ CSR |
การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ |
ต้องจัดทำ |
ไม่ต้องจัดทำ |
มาตรฐานของ MRV |
ISO 14064-1 / 14064-3 / 14065 หรือขึ้นอยู่กับผู้กำหนดนโยบาย |
ISO 14064-2 / 14064-3 / 14065 / CDM / J-VER / KVER / VCS / GS หรือขึ้นอยู่กับผู้กำหนดนโยบาย |
ระยะเวลา |
ใบอนุญาตมีอายุหนึ่งปี |
ขึ้นอยู่กับอายุโครงการ ซึ่งกำหนดโดยผู้ดูแล |
บทลงโทษ |
ภาคบังคับ : มีบทลงโทษ ภาคสมัครใจ : ไม่มีบทลงโทษ |
ไม่มีบทลงโทษ |
ในระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก นั้น หลังจากมีการกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap) แล้ว ผู้ที่อยู่ภายใต้ระบบจะได้รับการจัดสรรใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (allowance) ซึ่งสามารถนำไปซื้อขายได้ระหว่างผู้ที่อยู่ภายใต้ระบบด้วยกัน ภายใต้เงื่อนไขของอุปสงค์และอุปทานของตลาด
ขณะเดียวกัน ระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังอนุญาตให้ใช้ “เครดิตชดเชย” หรือ “คาร์บอนเครดิต” จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนเครดิตจากโครงการ CDM โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T-VERs) หรือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจอื่นๆ (VERs) เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆได้ ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย สามารถใช้ทดแทนหรือหักล้างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากที่ใดที่หนึ่งได้
อย่างไรก็ดี การใช้เครดิตชดเชยในระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะขึ้นอยู่กับกฎการดำเนินงาน หรือนโยบายของผู้กำหนดนโยบายในระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ระบบซื้อขายสิทธิ ทั้งหมด 2 รายการ
ในระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นั้น หลังจากมีการกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap) แล้ว ผู้ที่อยู่ภายใต้ระบบจะได้รับการจัดสรรสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (allowance) ซึ่งสามารถนำไปซื้อขายได้ระหว่างผู้ที่อยู่ภายใต้ระบบด้วยกัน ภายใต้เงื่อนไขของอุปสงค์และอุปทานของตลาด
ขณะเดียวกัน ระบบยังอนุญาตให้ใช้ “เครดิตชดเชย” หรือ “คาร์บอนเครดิต” จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกได้ เช่น คาร์บอนเครดิตจากโครงการ CDM โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T-VERs) หรือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจอื่นๆ (VERs) เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆได้
อย่างไรก็ดี การใช้เครดิตชดเชยในระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะขึ้นอยู่กับกฎการดำเนินงาน หรือนโยบายของผู้กำหนดนโยบาย
คุณสมบัติ |
ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
การทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจก |
ผู้ที่ทำการลดก๊าซเรือนกระจก |
ผู้ที่มีพันธกรณี หรือ ถูกกำหนดเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก |
ผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก |
สาขาการผลิตที่เข้าร่วม |
เน้นสาขาการผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง และธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ |
สาขาการผลิตใดก็ได้ หรืออาจจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ |
เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก และการอนุญาตให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
เป้าหมายถูกกำหนดโดยรัฐ หรือผู้มีอำนาจ โดยผู้ปล่อยจะได้รับจัดสรรสิทธิในการปล่อยก๊าซฯ ในรูปแบบสิทธิ (Allowance) |
ไม่มีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซฯ หรือสิทธิในการปล่อยก๊าซฯ หากลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ต่ำกว่ากรณีการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business-as-usual) จะได้รับ “คาร์บอนเครดิต” |
สินค้า |
สิทธิ (Allowance) |
คาร์บอนเครดิต (Carbon credit) |
อุปทานในตลาด |
จำกัดตามปริมาณของสิทธิในตลาด |
ขึ้นอยู่กับขนาดโครงการและความสนใจในการเข้าร่วมทำโครงการ |
อุปสงค์ในตลาด |
ผู้ที่ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ ซึ่งสะท้อนจากความเข้มข้นของเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ระบบการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่อนุญาตให้ใช้เครดิตชดเชย / บริษัทหรือบุคคลที่ทำ CSR |
การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ |
ต้องจัดทำ |
ไม่ต้องจัดทำ |
มาตรฐานของ MRV |
ISO 14064-1 / 14064-3 / 14065 หรือขึ้นอยู่กับผู้กำหนดนโยบาย |
ISO 14064-2 / 14064-3 / 14065 / CDM / J-VER / KVER / VCS / GS หรือขึ้นอยู่กับผู้กำหนดนโยบาย |
ตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ทั้งหมด 5 รายการ
การเข้าร่วมโครงการไม่จำเป็นต้องสมัคร ทั้งนี้ อบก. จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี (56-2) และ/หรือ รายงานความยั่งยืน เพื่อทำการประเมินภายใต้โครงการต่อไป ดังนั้น หากทางบริษัทหรือองค์กรมีการจัดทำรายงานประจำปี (56-2) และ/หรือ รายงานความยั่งยืน และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ ทางอบก. ก็จะทำการประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้
สามารถทำได้ โดยทางบริษัทหรือองค์กรสามารถส่งอีเมลข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมดังกล่าวมายัง อบก. โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องมีการระบุข้อมูลนั้น(บางส่วน)อยู่ในรายงานประจำปี และ/หรือรายงานความยั่งยืนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะแล้วเท่านั้น โดยข้อมูลที่ส่งให้เพิ่มเติมจะได้รับการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนต่อไป
มีการพิจารณารายงาน 3 ปีย้อนหลัง
ทาง อบก. จะไม่เปิดเผยคะแนนผลการประเมินให้ทราบ อย่างไรก็ดี อบก. สามารถเปิดเผยสรุปประเด็นตามตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่บริษัทหรือองค์กรสามารถนำไปพัฒนา หรือ ปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อการดำเนินธุรกิจที่คาร์บอนต่ำและยั่งยืนขององค์กรให้ทราบได้ โดยทางบริษัทหรือองค์กรสามารถส่งอีเมลแจ้งความประสงค์มายัง อบก. ขอทราบประเด็นเพื่อนำไปพัฒนาหรือปรับปรุงได้
สามารถแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรได้ที่
คุณนพรัตน์ พรหมอินทร์ อีเมล: nopparat@tgo.or.th
คุณหิริพงศ์ เทพศิริอำนวย อีเมล: hiripong@tgo.or.th
คุณณัฐพล ยิ่งศักดา อีเมล: nattapon_ying@tgo.or.th
กิจกรรมชดเชยคาร์บอน ทั้งหมด 10 รายการ
กิจกรรมชดเชยคาร์บอนสามารถทำได้ใน 4 รูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมส่วนบุคคล องค์กร ผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) และ การจัดประชุม/สัมมนา หรืองานอีเว้นท์
1. คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2. ลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตนเอง
3. ชดเชยคาร์บอนในส่วนที่ไม่สามารถลดได้ด้วยตนเอง
4. ขอรับการรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอนจาก อบก.
มี 2 ประเภท ได้แก่ ชดเชยคาร์บอนทั้งหมด (Carbon Neutral) และ ชดเชยบางส่วน (Carbon Offset)
มีเฉพาะรูปแบบองค์กรเท่านั้น ที่สามารถชดเชยบางส่วน (Carbon Offset) ได้ นอกจากนั้น กิจกรรมส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) และการจัดประชุม/สัมมนา หรืองานอีเว้นท์ ต้องชดเชยคาร์บอนทั้งหมด (Carbon Neutral) เท่านั้น
การซื้อเครดิตชดเชยมีขั้นตอนดังนี้
1. เปิดบัญชีผู้ซื้อเครดิต
2. เลือกซื้อเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศไทย สามารถตรวจสอบรายชื่อโครงการได้ที่ http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y2Nv
3. ทำการติดต่อผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกโดยตรงเพื่อซื้อคาร์บอนเครดิต และส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (เอกสารการโอนเงิน หรือ สัญญา (ถ้ามี)) กลับมายัง คุณอโณทัย สังข์ทอง อีเมล anothai@tgo.or.th โทร 02-141-9831 เพื่อแจ้งโอนเครดิต
กรณีที่เป็นบุคคลทั่วไป
1) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง พร้อมระบุอีเมลที่ต้องการใช้งานในระบบในเอกสาร
กรณีที่เป็นนิติบุคคล
1) หนังสือแจ้งความประสงค์จะเปิดบัญชีผู้ซื้อเครดิตในระบบทะเบียนคาร์บอน โดยระบุอีเมลที่ต้องการใช้งานในระบบ
2) ชื่อ ที่อยู่ และหนังสือรับรองนิติบุคล ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้
3) หนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ (ผู้ใช้งานระบบ)
4) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ
5) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ
6) หนังสือรับรองการทำงานออกโดยบริษัท (หนังสือรับรองการทำงานของผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น)
กรณีที่เป็นหน่วยงานราชการ องค์กรของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ
1) หนังสือแจ้งความประสงค์จะเปิดบัญชีผู้ซื้อเครดิตในระบบทะเบียนคาร์บอน โดยระบุอีเมลที่ต้องการใช้งานในระบบ
2) ชื่อ ที่อยู่ และสำเนาพระราชบัญญัติกฎหมาย หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงการจัดตั้งหน่วยงาน
3) หนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ (ผู้ใช้งานระบบ)
4) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ
5) สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ
คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) และกลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ อบก. ให้การรับรอง หรือ มาตรฐานที่ อบก. ยอมรับเท่านั้น รายละเอียดเพิ่มเติมดูที่ http://thaicarbonlabel.tgo.or.th
จำเป็นต้องมีการทวนสอบและรับรองโดยบุคคลที่ 3 ยกเว้นกิจกรรมส่วนบุคคลเท่านั้นที่ไม่ต้องทวนสอบและรับรองโดยบุคคลที่ 3
สามารถคำนวณได้จากเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกิจกรรมส่วนบุคคลบนหน้าเว็บไซต์ที่ http://carbonmarket.tgo.or.th/carbonfootprint/thai/index.php หรือ ดาวน์โหลดโปรแกรมคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกิจกรรมส่วนบุคคลผ่าน Application มือถือ ได้ในระบบปฏิบัติการระบบ Android และ iOS โดยชื่อโปรแกรมที่ปรากฎใน Play Store หรือ App Store เรียกว่า “CF Calculator”