Q & A

Carbon Credit Trading

ปัจจุบันรูปแบบการซื้อขายในปัจจุบันนี้สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

1. การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Trading Platform) หรือ ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เช่น ตลาด FTIX ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ดำเนินการโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566

2. ซื้อขายในระบบทวิภาค (Over-the-counter: OTC) ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ขายโดยตรงซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการที่ต้องการขายคาร์บอนเครดิตของตนโดยไม่ผ่านตลาด

รูปแบบที่ 1 Over-the-Counter ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันโดยตรง

รูปแบบที่ 2 Exchange Platform ผ่านศูนย์ซื้อขาย

ปัจจุบันนี้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในระบบทวิภาค (Over-the-counter: OTC) ยังไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย ขณะที่การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Trading Platform) ปัจจุบันยังมีแห่งเดียว คือ FTIX ซึ่งแพลตฟอร์มมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขาย โดยค่าธรรมเนียมการขายร้อยละ 5 ของมูลค่าขาย และค่าธรรมเนียมการซื้อร้อยละ 3 ของมูลค่าซื้อ (ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมจนถึง มิถุนายน 2567)

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรได้ให้ความหมายคาร์บอนเครดิตประเภท Voluntary Emission Reduction (VERs) เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างและอาจมีราคาและถือเอาได้ ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ เข้าลักษณะเป็นสินค้า ตามมาตรา 77/1 (9) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 77/2 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตประเภท VERs เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า (https://www.rd.go.th/26816.html)

คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) ได้ออกแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต เมื่อมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ภายใต้ความตกลงปารีส และกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการส่งเสริมการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสม โดยประกาศดังกล่าวจะครอบคลุมการซื้อขายและการใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ภายในประเทศและระหว่างประเทศ

อบก. ได้ดำเนินการออกระเบียบต่างๆ ทั้งที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของประเทศไทยและสอดคล้องตามมาตรฐานสากลภายใต้ความตกลงปารีส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย ให้มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และสามารถเชื่อมต่อระบบกับตลาด/ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต และรองรับกระบวนการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตไปยังต่างประเทศได้ ดังนี้

1. ระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) พ.ศ. 2566 ประกาศ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 และแก้ไขเพิ่มเติม

มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการพิจารณาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER) หรือโครงการ T-VER ซึ่งเป็นโครงการที่ผู้พัฒนาโครงการมีความประสงค์เข้าร่วมด้วยความสมัครใจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ ประกอบด้วย

  • โครงการ T-VER มาตรฐาน หรือ Standard T-VER กำหนดมาตรฐานตามมาตรฐานของประเทศไทย
  • โครงการ T-VER มาตรฐานขั้นสูง หรือ Premium T-VER กำหนดมาตรฐานขั้นสูงและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีส

โครงการ T-VER มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ให้การขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากโครงการ T-VER โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้ จะเรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ทั้งนี้ เมื่อคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้การรับรองคาร์บอนเครดิตแล้ว องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จะดำเนินการบันทึกคาร์บอนเครดิตในบัญชีของผู้พัฒนาโครงการในระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิตขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ตามขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้วยหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนการซื้อ การขาย และการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต พ.ศ. 2565 ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

2. ระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอก พ.ศ. 2564 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียน และกระบวนการพิจารณาขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบความใช้ได้ของโครงการ T-VER เพื่อขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และทวนสอบรายงานการติดตามประเมินผลเพื่อรับรองคาร์บอนเครดิตตามหลักเกณฑ์ที่ อบก. กำหนด ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

3. ระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้วยหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน การซื้อ การขาย และการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนการซื้อ การขาย และการถ่ายโอนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนขั้นตอน วิธีการทำธุรกรรมเกี่ยวกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม

4. หลักเกณฑ์การพิจารณาทำความตกลงประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกใช้เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาทำความตกลงประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต ระหว่างองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กับบุคคลหรือหน่วยงานของรัฐที่ประสงค์ประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

หลักเกณฑ์การพิจารณาทําความตกลงประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต

ปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์สำหรับการเป็นนายหน้าซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที ทั้งนี้ ท่านสามารถแจ้งความประสงค์และรายชื่อไว้กับ อบก. เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ต่อไป

สามารถทำได้ โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาทำความตกลงประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตของคณะกรรมการ อบก. หลักเกณฑ์การพิจารณาทําความตกลงประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต

คาร์บอนเครดิตไม่มีกำหนดราคากลางในการซื้อขาย โดยราคาคาร์บอนเครดิตเป็นไปตามกลไกตลาด หรือ อำนาจการต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคากลาง (Benchmark Price) อาจดำเนินการได้ยาก เนื่องจากคาร์บอนเครดิตเป็นการดำเนินกิจกรรมรูปแบบ Project-based ที่มีปัจจัยด้านต้นทุนของแต่ละโครงการเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นการกำหนดราคากลางจากปัจจัยพื้นฐานที่แตกต่างกัน อาจสามารถแสดงราคากลางที่เหมาะสมได้ยาก

Assessment of GHG Emissions

การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ที่ อบก. ให้การรับรองเครื่องหมายมีทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่

1. เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization)

2. เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product)

3. เครื่องหมายรับรองการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction)

4. เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Carbon Footprint of Circular Economy Product :CE-CFP)

5. เครื่องหมายรับรองคูลโหมด (Cool Mode Label)

6. เครื่องหมายรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Neutral / Carbon Offset) ทั้ง 4 ระดับ ได้แก่

  • องค์กร
  • ผลิตภัณฑ์
  • อีเว้นท์
  • บุคคล

7. เครื่องหมายรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Certification) ทั้ง 4 ระดับ ได้แก่

  • องค์กร (แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.Net Zero Commitment 2.Net Zero Pathway 3.Net Zero)
  • ผลิตภัณฑ์
  • อีเว้นท์
  • บุคคล

สามารถยื่นขอการรับรองบนเว็บไซต์ https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YldWdFltVnk&action=Ykc5bmFXND0

โดยสามารถศึกษาขั้นตอนการยื่นขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองได้ ดังนี้

1. เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF)

2. เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product)

3. เครื่องหมายรับรองการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction)

4. เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Carbon Footprint of Circular Economy Product :CE-CFP)

5. เครื่องหมายรับรองคูลโหมด (Cool Mode)

สามารถดูขั้นตอนการยื่นขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองได้ที่ : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y0hKdlpIVmpkSE5mY0hKdlkyVnpjdz09

6. เครื่องหมายรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Certification)<ฝp>

สามารถดูขั้นตอนการยื่นขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองได้ที่ : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Ym1WMGVtVnliMTl3Y205alpYTno

กิจกรรมส่งเสริมการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของ องค์กร หรือ ผลิตภัณฑ์ หรือ เหตุการณ์ หรือ บุคคล เพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร หรือ ผลิตภัณฑ์ หรือ เหตุการณ์ หรือ บุคคล ลดลง หรือเท่ากับศูนย์ โดยส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม ทำกิจกรรม ชดเชยคาร์บอนเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม สนับสนุนและขับเคลื่อนตลาด คาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศ รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้มีผู้พัฒนาโครงการหรือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นด้วย อันจะทำให้ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้นเช่นกัน โดยแบ่งระดับกิจกรรมชดเชยคาร์บอนเครดิต ออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ องค์กร ผลิตภัณฑ์ อีเว้นท์ บุคคล

เครื่องหมายรับรอง Carbon Offset / Carbon Neutral

สามารถดูขั้นตอนการยื่นขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองได้ที่ : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YUhSdll3PT0

1. ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนเครื่องหมายรับรอง พ.ศ. 2558 ดังนี้

2. ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร 8,500 บาทต่อองค์กร

3. ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรอง Cool Mode 3,500 บาทต่อชิ้นผ้า

ผู้ประเมินภายนอก หรือ ผู้ทวนสอบ หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อบก. ให้สามารถดำเนินการตรวจสอบและทวนสอบข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์หรือองค์กรได้

- คุณสมบัติและเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (รูปแบบบุคคลและนิติบุคคล) : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/tools/files.php?mod=WVdSMmFYTmxjbDlrYjJOMWJXVnVkQT09&type=WDBaSlRFVlQ&files=TVRVPQ

- คุณสมบัติและเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทวนสอบการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (รูปแบบนิติบุคคล) : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/tools/files.php?mod=WVdSMmFYTmxjbDlrYjJOMWJXVnVkQT09&type=WDBaSlRFVlQ&files=TVRNPQ

ผู้ที่สนใจขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินหรือผู้ทวนสอบจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ อบก. กำหนด และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศฯ เมื่อเป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด ให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

รายละเอียดเพิ่มเติม ระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอก พ.ศ. 2564 : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/tools/files.php?mod=WVdSMmFYTmxjbDlrYjJOMWJXVnVkQT09&type=WDBaSlRFVlQ&files=TVRNPQ

รายชื่อหน่วยงานทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ประเภทบุคคล : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=ZG1WeWFXWnBaWEk9&action=Y0hKdlpIVmpkSE09

รายชื่อหน่วยงานทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ประเภทนิติบุคคล : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=ZG1WeWFXWnBaWEk9&action=YjNKbllXNXBlbUYwYVc5dQ

Doing a Carbon Credit Project

2 มาตรฐาน โดยเมื่อปีพ.ศ. 2557 อบก. พัฒนากลไกคาร์บอนเครดิต ที่ชื่อว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ต่อมาในปีพ.ศ. 2565 อบก. ได้พิจารณาถึงความสำคัญด้านความน่าเชื่อถือ (Integrity) ของคาร์บอนเครดิตจึงพัฒนา โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยขั้นสูง (Premium Thailand Voluntary Emission Reduction Program) เพื่อสร้างมาตรฐานการรับรองคาร์บอนเครดิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของสากลมากยิ่งขึ้น โดยมีการคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ปัจจัยที่สามารถตรวจวัดการลดก๊าซเรือนกระจกได้จริง (Real) และถาวร (Permanent) มีการดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (Additional) ไม่มีการนับซ้ำ (Double counting) สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการป้องกันผลกระทบด้านลบ (Safeguards) ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบ (Do-no-net harm)

การพัฒนาโครงการ T-VER ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และขั้นตอนการรับรองคาร์บอนเครดิต โดยผู้พัฒนาโครงการจะต้องจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการ T-VER ยื่นมายัง อบก. เพื่อขอขึ้นทะเบียนหรือรับรองคาร์บอนเครดิต

รายละเอียดขั้นตอนการพัฒนาโครงการ T-VER : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/tver-step/tver-development-step.html

โครงการคาร์บอนเครดิตภายใต้มาตรฐาน Standard T-VER และ Premium T-VER ที่สามารถดำเนินการได้ แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

  • Renewable Energy
  • Transport
  • Energy Efficiency
  • Factory
  • Waste
  • Land Use (Agriculture & Forestry)
  • CCUS

โดยปัจจุบันระเบียบวิธีการ (Methodology) ที่สามารถดำเนินการได้ภายใต้ Standard T-VER มีจำนวน 56 ระเบียบวิธีการ และ Premium T-VER มีจำนวน 14 ระเบียบวิธีการ

ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) คือ นิติบุคคลที่สาม (Third Party) ที่ดำเนินการด้วยความเป็นกลาง มีมาตรฐานการทำงานอย่างเป็นระบบได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าหน่วยรับรองมีความสามารถในการดำเนินการตรวจสอบความใช้ได้และการทวนสอบ โดยต้องได้รับการรับรองระบบงาน (Accreditation) สำหรับหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกระจกตามมาตรฐาน ISO 14065: 2013 หรือ มอก.14065 พ.ศ.2556 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก และ IAF MD 6: 2014 หรือการยอมรับในรูปแบบอื่นๆ (Requirements for Greenhouse Gas Validation and Verification Bodies for Use in Accreditation or Other Forms of Recognition) และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ มีหน้าที่ออกถ้อยแถลงให้การรับรองผลในการตรวจสอบความใช้ได้ของเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) เพื่อขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER หรือทวนสอบรายงานการติดตามประเมินผล (Monitoring Report: MR) เพื่อรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระที่ลดหรือกักเก็บได้ (คาร์บอนเครดิต) ตามหลักเกณฑ์ที่ อบก. กำหนด

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (VVB)

1. หน่วยงานที่จะสมัครเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน พร้อมหลักฐาน ตามหลักเกณฑ์ที่ อบก. กำหนด

2. อบก. ดำเนินการตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น เพื่อพิจารณาความครบถ้วนและถูกต้องของเอกสารต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ หากเอกสารไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้อง อบก. จะทำการแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

3. อบก. เสนอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก พิจารณากลั่นกรอง ความถูกต้อง และเสนอความเห็นคณะอนุกรรมการฯ ต่อคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกฯ ต่อไป

4. อบก. แจ้งผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

ระเบียบและหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/other-rule/tver-criteria-for-registration-external.html

ผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/tver-external-evaluator/vvb-list.html

Climate and Environmental Change Act

เมื่อช่วงกลางปี 2566 ประเทศไทยได้จัดตั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE) หน่วยงานทที่รับผิดชอบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้สามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปและสอดรับกับทิศทางและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานงานกลางของประเทศภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ทั้งการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) การปรับตัว (Adaptation) การเพิ่มขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกระดับ และการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยทางกรมฯ อยู่ในระหว่างร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะช่วยให้ทุกภาคส่วนเตรียมแนวทางการปรับตัวได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งหมวดต่าง ๆ ออกเป็น 14 หมวด และ บทเฉพาะกาล

ทั้งนี้ หมวดที่ 10 คาร์บอนเครดิต เป็นหมวดที่มีความเกี่ยวข้องในการส่งเสริมและสนับสนุนตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ

ดาวโหลดร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1_N6IR-DDJFXmfWwgkzCppJtUBmtNbQrI

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมวางแผนการดำเนินการเพื่อนำเสนอร่าง ฯ ต่อ ครม. ภายในเดือนมิถุนายน 2567