เป้าหมายทางวิทยาศาสตร์

SBT คืออะไร

เป้าหมายทางวิทยาศาสตร์

SBT คืออะไร

Science-based Targets (SBT) คือ การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส บนพื้นฐานทาง Climate Science ซึ่งมีเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไว้ให้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส และมุ่งสู่การจำกัดอุณหภูมิฯ ไว้ให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

หลักการในการตั้งเป้า SBTi….

การตั้งเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์มีหลักการสำคัญ โดยพิจารณาปริมาณ Global Carbon Budget หรือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมที่สามารถปล่อยของทั้งโลก เพื่อจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไว้ให้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส และมุ่งสู่การจำกัดอุณหภูมิฯ ไว้ให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดย Global Carbon Budget กรณี 2 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 2,900 GT CO2 ขณะที่กรณี 1.5 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 2,250 GT CO2 ซึ่งปริมาณการปล่อยสะสมทั่วโลกระหว่างค.ศ. 1970-2011 เท่ากับ 1,890 GT CO2 ดังนั้นจะเหลือปริมาณที่ทั่วโลกสามารถปล่อยได้ในอนาคตเท่ากับ 1,010 และ 360 GT CO2 สำหรับเป้าหมาย 2 และ 1.5 องศาเซลเซียสตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมาย 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดร้อยละ 40-70 ภายในค.ศ. 2050 โดยหากมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส ทั่วโลกต้องลดปริมาณการปล่อยลงถึง 70-95 อันนำไปสู่ Global Net-Zero Emission ภายในค.ศ. 2050

ขั้นตอนการตั้งเป้าหมาย SBTi

1. จัดทำ Commitment Letter ที่ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ระบุถึงเป้าหมายที่องค์กรต้องการบรรลุ (เช่น เป้าหมาย 2 องศาเซลเซียส หรือ 1.5 องศาเซลเซียส) และส่งให้ทาง SBTi

2. เมื่อทาง SBTi ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสร็จ องค์กรจะได้รับการขึ้นทะเบียนบนเว็บไซต์ https://sciencebasedtargets.org/companies-taking-action

3. องค์กรมีระยะเวลา 24 เดือนภายหลังจัดส่ง Commitment Letter ในการพัฒนาแนวทางและมาตรการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด และจัดส่งให้ทาง SBTi

4. เมื่อทาง SBTi ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสร็จ (ใช้เวลานประมาณ 1 เดือน) องค์กรจะได้รับการขึ้นทะเบียนบนเว็บไซต์ ซึ่งจะมีการแสดงเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้เป้าหมาย

การตั้งเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์มี 3 รูปแบบคือ

1. Absolute-based approach คือ การกำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้องลดในรูปแบบร้อยละของปริมาณการปล่อยทั้งหมด (Absolute Emissions) จากการคำนวณและกำหนดภายใต้ภาพจำลอง (Scenario) เท่ากันสำหรับทุกบริษัท

2. Sector-based approach คือ การกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถปล่อยได้และไม่ก่อให้เกิดอันตรายในภาพรวมของโลก แล้วจัดสรรตามสาขาการผลิต ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละบริษัทจำเป็นต้องดำเนินการ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่สามารถปล่อยได้ของแต่ละสาขา และการจัดสรรภายในสาขานั้น

3. Economic-based approach คือ การกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถดำเนินการได้ โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก (Global GDP) และสัดส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละบริษัท ซึ่งปริมาณที่แต่ละบริษัทต้องลดคำนวณจากกำไรสุทธิ (Gross Profit) และร้อยละเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก

การตั้งเป้าหมายสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 ของทั้งบริษัท ต้องครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 95 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด โดยมีความยืดหยุ่นในการตั้งเป้าหมายในระยะเวลาระหว่าง 5-15 ปีในอนาคต และวัดจากปีที่มีข้อมูลการปล่อยฯ ที่สมบูรณ์ล่าสุด สำหรับการปล่อยฯ ในขอบเขตที่ 3 จะจำเป็นต้องมีการวัดและการตั้งเป้าหมาย หากมีการปล่อยมากกว่าร้อยละ 40 ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด

ประโยชน์ของการกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์สำหรับองค์กรธุรกิจ ได้แก่

• ผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

• สนับสนุนให้เกิดความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อกฏระเบียบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

• เสริมสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีแก่นักลงทุน

• ส่งเสริมความสามารถการแข็งขันทางธุรกิจ

• สนับสนุนการพัฒนานโยบายด้านความยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์กร

เครื่องมือต่างๆในการตั้งเป้าหมายตาม SBT….

องค์กรสามารถดาวน์โหลดเครื่องมือ Science-based Target Setting Tool ผ่านทางเว็บไซต์ของ SBTi (https://sciencebasedtargets.org/resources) เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเครื่องมืออยู่ในรูปแบบ Excel Sheet ที่องค์กรสามารถกรอกข้อมูลทั่วไปขององค์กร เช่น ปริมาณการผลิต ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีฐานและปีเป้าหมาย เป็นต้น และสามารถเลือกรูปแบบการตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมกับองค์กร โดยเครื่องมือจะประมวลเพื่อให้ข้อมูลปริมาณการลดในปีเป้าหมายที่องค์กรต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย

รายละเอียดเพิ่มเติม...

1. Tool Demo ลิงค์ https://sciencebasedtargets.org/resources

2. Foundations of Science-based Target Setting ลิงค์ https://sciencebasedtargets.org/wp-content/uploads/2019/04/foundations-of-SBT-setting.pdf

3. SBTi Criteria and Recommendations ลิงค์ https://sciencebasedtargets.org/wp-content/uploads/2019/03/SBTi-criteria.pdf

4. Science-Based Target Setting Manual ลิงค์ https://sciencebasedtargets.org/wp-content/uploads/2017/04/SBTi-manual.pdf

CopyRight © 2012 - 2021 Carbon Market All Rights