หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
รางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
ความเป็นมา
จากแนวโยบายที่มุ่งการส่งเสริมการผลิต การลงทุน และการสร้างงานสีเขียว เพื่อยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถพัฒนาห่วงโซ่อุปทานหรือห่วงโซ่คุณค่าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Supply Chain/Green Value Chain) ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อมาตรการกีดกันทางการค้า ณ ปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
ภาคอุตสาหกรรม และองค์กรธุรกิจ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าวด้วยการเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถในการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมของตน ตั้งแต่พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้พัฒนาและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมกันในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการรับรองต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ฉลากคาร์บอน (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ฉลากลดโลกร้อน คูลโหมด และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร) การรับรองคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย โครง การสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกการรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอน เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน และสามารถลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยลงได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ กลไกการรับรองดังกล่าวยังสามารถบูรณาการร่วมกันได้ เช่น การดำเนินงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร สามารถดำเนินการต่อยอดด้วยการรับรองกิจกรรมชดเชยคาร์บอน เป็นต้น
อบก. จึงได้จัดทำ “ตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน” ขึ้นเพื่อใช้ในการประเมินและจัดระดับองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศและมีการดำเนินธุรกิจแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรธุรกิจในวงกว้างและเป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่องค์กรธุรกิจตัวอย่าง รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจที่มีการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำและอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับมาตรฐานขององค์กรธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินและจัดระดับองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน และจัดพิธีเชิดชูเกียรติให้กับองค์กรซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรธุรกิจอื่น
ผลที่คาดว่าจะได้รับและการนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
1. ได้หลักเกณฑ์การประเมินองค์กรเพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดแนวทางการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ที่เหมาะสมกับบริบทการประเมินองค์กรในประเทศไทย
2. ได้ผลการประเมินองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำและอย่างยั่งยืนซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดระดับและให้รางวัลเชิดชูเกียรติแก่องค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานที่โดดเด่นในเรื่องดังกล่าว
3. เป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจที่มีการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำและอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับมาตรฐานขององค์กรธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน และเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรธุรกิจอื่นในอนาคต
หลักการในการประเมินธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
ธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน หมายถึง ธุรกิจที่ใส่ใจต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้กลไกการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงความสมดุลใน 3 มิติ ของความยั่งยืน ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม
ทั้งนี้ ประเด็นหลักในแต่ละมิติ และน้ำหนักคะแนน สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านสิ่งแวดล้อม
3. มิติด้านสังคม
หลักเกหลักเกณฑ์การประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ประจำปี 2565
แบบฟอร์มการส่งเอกสารรายงานเพิ่มเติมขององค์กร
** สามารถดาวโหลดแบบฟอร์มฯ ได้ที่ : http://carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=ZG93bmxvYWRfY2NzYmk=
เกณฑ์การให้รางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ประจำปี 2565
แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ขั้นตอนการประเมินธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน มีกรอบเวลา ดังนี้
รายละเอียดหลักเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัด สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่ หรือ ติดต่อ นายนพรัตน์ พรหมอินทร์ โทรศัพท์ 02-141-9827 และ น.ส.พิชญา สาระรักษ์ โทรศัพท์ 02-141-9832