โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แนวคิดและรูปแบบของระบบ Thailand V-ETS

โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย

ระบบ การซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme) หรือที่เรียกว่า ระบบ Thailand V-ETS เป็นกลไกหนึ่งที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้พัฒนาขึ้น เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ตลาดคาร์บอนภาค สมัครใจของประเทศไทย และได้ออกแบบระบบการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting, and Verification System) หรือ ระบบ MRV ที่พัฒนาจากมาตรฐานสากล ISO 14064-1, 14064-3 และ 14065

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน อบก.ได้ดำเนินโครงการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดคาร์บอนของไทยอย่าง ต่อเนื่องโดย Action plan ของ Thailand V-ETS มีดังนี้

 

 

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2558- 2560 อบก. ได้จัดทำ “โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย” ระยะที่ 1 หรือชื่อเดิมคือ "โครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย" (ครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี) และได้ดำเนิน “โครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย” ระยะที่ 2 ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 (ครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี) ขึ้น เพื่อพัฒนาทดสอบและปรับปรุง ระบบ MRV รวมถึงกฎการดำเนินงานและรูปแบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับสาขาอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีโรงงานนำร่องเข้าร่วมจำนวน 55 แห่ง จาก 10 สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่ ปิโตรเคมี ปูนซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า เยื่อและกระดาษ อาหาร (สาขาย่อยอาหารแปรรูป อาหารสัตว์ น้ำตาล และเครื่องดื่ม) พลาสติก โรงกลั่นปิโตรเลียม แก้วและกระจก เซรามิก และสิ่งทอ (ดังตาราง)

 

CopyRight © 2012 - 2021 Carbon Market All Rights